วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

วันครูและวันเด็ก


                                          วันครู                                                           

วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู


          ความหมายของครู   ครู หมายถึง  ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งมีผู้กล่าวว่ามาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ) ที่แปลว่า "หนัก" อันหมายถึง ความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้น นับเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนาสาหัสไม่น้อย กว่าคน ๆ หนึ่งจะเติบโตเป็นผู้มีวิชาความรู้ และเป็นคนดีของสังคม ผู้เป็น ''ครู'' จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเลย


      การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันครู 
          เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่ของครู ตลอดจนจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีครู และบทบาทหน้าที่ของศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครู ตลอดจนการจัดกิจรรมได้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ 

          กิจกรรมวันครู  
 การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลาในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 

  1. กิจกรรมทางศาสนา
  2. พิธีรำลึกพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตนการกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
  3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬา หรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น 

       คำปฏิญาณตนของครู

1ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู 
2ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ 
3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม 

       บทกล่าววันไหว้ครู 
ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา (วสันตดิลกฉันท์)                   
ประพันธ์โดย พระวรเวทย์พิสิฐ (วรเวทย์ ศิวะศรียานนท์)
ปัญญาวุฒิกเรเตเต ทินโนวาเท นมามิหัง        


    มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู
1.เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
2.ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
3.ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่
4.รักษาชื่อเสียงของตนเองมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใดๆที่อาจทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของครู
5.ถือปฏิบัติตามระเบียบและธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษาและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
6.ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่ปกบิดเบือนและปิดอำพราง
7.ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการโดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน
8.ประพฤติตนอยู่ในความสซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชนืสำหรับตนเองและผู้อื่น
9.สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์
10.รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือในหน้าที่การงาน


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.kapook.com



                                                  วันเด็ก
     


คำขวัญวันเด็ก
รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน
ประวัติวันเด็ก Children's Day ปีพุทธศักราช 2498 อันเป็นปีที่ทั่วโลกเริ่มจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติกันขึ้น ตามความเห็นคล้อยตามกับองค์การสหประชาชาติที่นำปัญหาเรื่องเด็กมาร่างเป็นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของเด็กขึ้นประเทศไทยได้รับข้อเสนอของวี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์กรสมาพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ประเทศไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็กให้มากขึ้น ดังที่นานาประเทศกำลังทำอยู่ ขณะนั้น สภาวัฒนธรรมแห่งชาติยังมิได้ถูกยุบเลิกไป คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อพิจารณา ในที่สุดที่ประชุมได้เห็นชอบนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ต่อมาเมื่อวันที่27 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีรับหลักการ ให้จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการรับไปดำเนินการ ส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดงานนั้น ได้อนุมัติเงินจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการ ดังนั้น ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ประเทศไทยจึงมีงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากนั้นเป็นต้นมา ทางราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติ และจัดติดต่อกันมาจนถึงปี พ.ศ. 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่เพื่อความเหมาะสม ด้วยเหตุผลว่า ในเดือนตุลาคม ประเทศไทยยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็กไม่สะดวกในการมาร่วมงาน ประการต่อมาก็คือ วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ ตลอดจนการจราจรก็ติดขัด คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสนอ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 ประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปี พ.ศ. 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว  งานวันเด็กแห่งชาติได้เริ่มจัดขึ้นมาใหม่อีกครั้งใน พ.ศ. 2508 และจัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

 ของเล่นวันเด็ก
มาถึงวันเด็กทีไร เด็กน้อยเด็กใหญ่ ต่างมีความยินดีสุขใจกันถ้วนหน้า เพราะเป็นวันที่น้องๆหนูๆจะมีความสุขกันแบบจัดเต็ม ส่วนผู้ใหญ่ที่ล่วงเลยวันเด็ก ก็จะทำหน้าที่ ดูแลลูกหลาน ลองย้อนไปดูของเล่น ที่อาจจะเคยเล่นเมื่อนานมาแล้ว
# เมล็ดต้อยติ่งหรือเม็ดเป๊าะแป๊ะของเด็กหลายคน โดยเฉพาะเด็กบ้านทุ่ง เวลาเอามาใส่นน้ำมันจะดังเป๊าะแป๊ะ สร้างความบันเทิงได้ทีเดียว
#กระโดดยาง เป็นของเล่นที่มีกันทุกโรงเรียน ชนิดว่าถ้าบรรจุในโอลิมปิกเกมส์ ประเทสจะมีนักกระโดดยางทีมชาติจำนวนมาก การเล่นมีมีความสูงหลายระดับ ส่วนใหญ่นักเรียนหญิงเล่นเก่ง
กิจกรรมในวันเด็ก

- ให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าบทบาท และความสำคัญของตนเอง
- เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
          เด็ก คือ ทรัพยากรที่สำคัญยิ่งของประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า และมั่นคงอีกทั้งเป็นผู้ที่จะต้องเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เพื่อทำหน้าที่ดูแลสังคมตลอดจนเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความเปลี่ยนแปลง และอื่น ๆ
          ดังนั้น ทุกสังคมจึงให้ความสำคัญแก่เด็ก และจัดให้มีวันเด็กขึ้นทุกปี เพื่อให้เด็กรู้ถึงความสำคัญของตนเอง จะได้ประพฤติปฏิบัติตนให้สมกับเป็นผู้ที่มีความสำคัญของประเทศชาติ ด้วยการตั้งใจใฝ่ศึกษาเรียนรู้ ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย รู้จักการใช้เวลา ความคิด มีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ และซื่อสัตย์สุจริต 
เพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี
เพลง หน้าที่ของเด็ก หรือเรียกกันติดปากว่าเพลง เด็กเอ๋ยเด็กดี เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเตือนใจเด็กและเยาวชน เพื่อให้ระลึกถึงสิ่งที่ตนควรทำ ประพันธ์เนื้อร้องโดย ชอุ่ม ปัญจพรรค์ และทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน เพลงนี้มักเปิดในช่วงวันเด็กแห่งชาติ
เนื้อเพลงเด็กเอ๋ยเด็กดี
          เด็กเอ๋ยเด็กดี
          ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
          เด็กเอ๋ยเด็กดี
          ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
          หนึ่ง นับถือศาสนา
          สอง รักษาธรรมเนียมมั่น
          สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์
          สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน
          ห้า ยึดมั่นกตัญญู
          หก เป็นผู้รู้รักการงาน
          เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ
          ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน
          แปด รู้จักออมประหยัด
          เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล
          น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ
          ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา
          สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์
          รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา
          เด็กสมัยชาติพัฒนา
          จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ






 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://hilight.kapook.com/view/17298 www.wikipedia.com